วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

cad / cam / cae คืออะไร?

1. CAD / CAM / CAE คืออะไร และเกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมอย่างไร จงอธิบาย

CAD : Computer Aided Design
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ หรือ CADD ซึ่งย่อมาจากคำว่า Computer Aided Design and Drafting คือ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบและเขียนแบบและเกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม คือ
- พัฒนาแบบจำลองชิ้นส่วนจากแบบที่ได้รับ
- ประเมินการแก้ไขข้อมูล CAD ของชิ้นส่วนที่ออกแบบบนระบบ CAD เพื่อให้ยอมรับได้ในการผลิต
- เปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนที่ออกแบบเพื่อให้สามารถผลิตได้ สิ่งนี้อาจรวมถึงการเพิ่มมุมสอบ (Draft angle) หรือพัฒนาแบบจำลอง ของชิ้นส่วนที่แตกต่างกันออกไป สำหรับขั้นตอนที่แตกต่างกันในกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน
- ออกแบบอุปกรณ์จับยึด โพรงแบบ (Model cavity) ฐานแม่พิมพ์ (Model base) หรือ เครื่องมืออื่น ๆ


CAM : Computer Aided Manufacturing

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต ซึ่งจะใช้ซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมเครื่องจักร ให้สามารถสร้างชิ้นงานได้ตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิตนี้ มีองค์ประกอบหลักๆ คือ
1. เครื่องจักรซีเอ็นซี(CNC:Computer Numerical Controlled) คือ เครื่องจักรที่ใช้สำหรับกัด ก้อนวัตถุดิบ(โลหะ, ไม้ ,พลาสติกสังเคราะห์) ให้ได้รูปร่าง ตามแบบชิ้นงานที่ได้ออกแบบไว้แล้ว
2. ซอฟต์แวร์สำหรับงาน CAM ซึ่งมีมากมายหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ ซึ่งควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
รับข้อมูล 3 มิติจากซอฟต์แวร์ CAD ได้ในรูปแบบมาตรฐาน (IGES, STEP, STL)
เลือก Tool หรือ หัวกัดชิ้นงาน ตามขนาดที่ต้องการ กำหนด การกัดงานด้วยรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การกัดหยาบ, กัดละเอียด
ทดสอบการกัดชิ้นงาน บนจอภาพเพื่อตรวจสอบก่อนการกัดงานจริง (ส่วนนี้ซอฟต์แวร์บางตัวอาจยังไม่มีให้ใช้งาน) สร้าง G-code ซึ่งเป็นรหัสเพื่อบอกให้เครื่องจักรทำงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ได้ถูกต้อง ซึ่งซอฟต์แวร์ CAM นั้นจะต้องสร้าง G-code ให้มีรูปแบบตรงกับ รูปแบบที่เครื่องจักรรุ่นนั้น ๆ รู้จัก
ตัวอย่างรายชื่อซอฟต์แวร์ เช่น CAM MasterCAM, Delcam, Esprit, EdgeCAM, Gibbscam, Solidcam


CAE : Computer Aided Engineering
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม หมายถึง การบอกถึงความสามารถของสิ่งที่ออกแบบว่า สามารถทำงานได้ตามที่อยากให้เป็นหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ คือ
1. ผลลัพธ์จากการทดสอบจริง ได้แก่ การนำต้นแบบมาทดสอบจริง เช่น การทดสอบการชนของรถ

หรือ การทดสอบความแข็งด้วยการอัดแรง ฯลฯ
2. ผลลัพธ์จากการคำนวณด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ สามารถหาผลลัพธ์จากสถานการณ์ที่สมมุติขึ้น

ซึ่งการคำนวณแบบนี้ จะใช้เวลามาก กว่าจะได้ผลลัพธ์ ทำให้วิศวกรนำคอมพิวเตอร์และซอร์ฟแวร์

ประเภท CAE มาช่วยคำนวณหาผลลัพธ์ ซึ่งจะทำให้คำนวณได้เร็วกว่ามาก และมีความถูกต้องสูง

ซอฟต์แวร์ CAE ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการนำไปใช้ และตัวอย่างชื่อซอฟต์แวร์ ได้แก่


AutoSEA2, STRACO

การใช้งาน ทดสอบและจำลองผลกระทบจากการสั่นของคลื่นเสียง


Adina, CFD 2000, CFX, FLOTHERM, FloWorks, Fluent, ICEM

การใช้งาน จำลองสถานการณ์เกี่ยวกับกลศาสตร์ของไหล


Delmia, TECMATH

การใช้งาน จำลองสถานการณ์การทำงานโดยคำนึงถึงสรีระของมนุษย์


Aspen Engineering Suite, Codeware, Hyprotech, On-Line Heat Exchanger Sizing การใช้งาน จำลองสถานการณ์ของถังเก็บความดันสูง ในโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อต้องใช้งานจริง


AFT, CAEPIPE, CAESAR, Rebis

การใช้งาน จำลองสถานการณ์ของระบบท่อในโรงงานที่มีแรงดันภายใน และ แรงกระทำจากภาระภายนอก


CAD, CAM, CAE เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมอย่างไร จงอธิบาย ?

การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานวิศวกรรมทั้งในด้านการออกแบบและเขียนแบบ การใช้ซอฟแวร์เพื่อควบคุมเครื่องจักร ให้สามารถสร้างชิ้นงานได้ตามที่ออกแบบไว้ โดยอาศัยองค์ประกอบ คือ เครื่องจักร CNC และซอฟแวร์สำหรับงาน CAM หรือกระทั่งการทดสอบเพื่อบอกถึงความสามารถของชิ้นงานที่ได้ผลิตออกมา ว่าทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ ทำโดยการทดสอบจริง หรือคำนวณด้วยซอฟแวร์ประเภท CAE ทำให้คำนวณได้เร็วและแม่นยำมาก จะเห็นได้ว่า CAD, CAM, CAE เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยทำให้ผลิตชิ้นงานได้มีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในธุรกิจอุตสาหกรรมปัจจุบัน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ CAD, CAM, CAE เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญมาก ๆ ต่องานวิศกรรม


2. CAD / CAM / CAE มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

การใช้ CAD/CAM/CAE ร่วมกันในการผลิต
การผลิตโดยทั่วไปจะเริ่มต้นจากการใช้ CAD ในออกแบบชิ้นส่วนหรือแก้ไขข้อมูลเชิงตัวเลขที่ได้
จากการสแกนชิ้นงาน หลังจากนั้นจะใช้ CAE ในการวิเคราะห์ชิ้นส่วนที่ออกแบบว่าสามารถรับภาระหรือมี
สมบัติต่าง ๆ ตามที่ต้องการหรือไม่ถ้ามีปัญหาก็ใช้ CAD แก้ไขจุดบกพร่องแล้วใช้ CAE วิเคราะห์อีก
จนกว่าจะได้ชิ้นส่วนที่มีสมบัติตามที่ต้องการ จากนั้นจะส่งข้อมูล CAD ไปยัง CAM software เพื่อ
จําลองเส้นทางเดินของเครื่องมือกัดขึ้นรูป หรือแก้ไขแบบเพื่อให้เครื่องซีเอ็นซีสามารถกัดขึ้นรูปได้ ในขั้นนี้
สําหรับงานบางอย่างเราสามารถใช้ CAE วิเคราะห์ได้ด้วย เช่น งานทําแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เราใช้ CAE
ทบทวนชิ้นส่วนที่ออกแบบก่อนที่จะใช้เครื่องจักรซีเอ็นซีทําการกัดขึ้นรูป เพื่อยืนยันว่าแม่พิมพ์เมื่อนําไป
ฉีดแล้วพลาสติกจะไหลเข้าไปเต็มแม่พิมพ์อย่างถูกต้องแน่นอน ซึ่งการวิเคราะห์นี้จะทําให้เราเห็นว่าพื้นที่
ส่วนไหนที่พลาสติกไม่สามารถไหลเข้าไปได้เต็ม หรือทําให้เกิดโพรงอากาศ หรือเส้นรอยเชื่อมต่อ การ
เปลี่ยนแปลงแบบเพื่อปรับปรุงให้สามารถฉีดพลาสติกได้เต็มแบบสามารถทําได้ในจุดนี้ซึ่งแบบยังไม่ได้ทํา
จริง สิ่งนี้จะช่วยประหยัดเงินทุนจํานวนมากซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนเครื่องมือกัดชิ้นงาน

หลังจากการใช้ CAE วิเคราะห์และใช้ CAM แก้ไขเส้นทางเดินของเครื่องมือกัดขึ้นรูปแล้ว
จากนั้นก็ใช้ CAM สร้างรหัสจีเพื่อส่งไปให้เครื่องจักรซีเอ็นซี ทําการกัดขึ้นรูปชิ้นงานหรือกัดแม่พิมพ์ เมื่อ
CNC กัดชิ้นงานเสร็จแล้ว เรายังสามารถใช้ CAE ในการตรวจสอบชิ้นงานที่สร้างขึ้นมาว่ามีขนาดตรง
ตามแบบหรือไม่ในกรณีที่งานต้องการความเที่ยงตรงสูง


3. จงยกตัวอย่างงาน หรือระบบงาน เครื่องมือ เครื่องจักรที่มี CAD CAM CAE เป็นองค์ประกอบ โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ

CNC & CAD/CAM/CAE กับงานผลิตชิ้นส่วนและแม่พิมพ์

กระบวนการผลิตชิ้นส่วนหรือแม่พิมพ์ด้วย CNC และ CAD/CAM
โดยเริ่มต้นด้วยการสร้างแบบจำลอง หรือ โมเดล 3 มิติจากแบบ(Part
Drawing) หรือ แบบร่าง โดยใช้ซอฟต์แวร์ประเภท CAD จากนั้นนำแบ
จำลองไปสร้างข้อมูลสำหรับกัดงานด้วยซอฟต์แวร์ CAM หรือนำไป
วิเคราะห์ข้อมูลทางวิศวกรรมด้วย CAE เมื่อได้ข้อมูล G-Code (NC
Data หรือ Part Program) แล้ว เราสามารถนำ G-Code ส่งเข้าเครื่อง
จักรด้วยวิธีการ DNC (Direct Numerical Control) ซอฟต์แวร์
CAD/CAM ที่นำมาช่วยในการผลิตนั้น ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน
ใหญ่ๆ คือ ในส่วนของ CAD (Computer Aided Design) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในสร้างแบบจำลองของชิ้นงานบนคอมพิวเตอร์(Computer Model) และ CAM (Computer Aided Manufacturing) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างโปรแกรมที่จะนำไปใช้สั่งงานเครื่องจักร มีผู้นิยามคำจำกัดความของ CAD/CAM แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ในความเป็นจริงแล้วซอฟต์แวร์ CAD/CAM ที่เราใช้งานในปัจจุบัน อาจกล่าวว่า CAM จะเป็นเพียงใช้ช่วยในงานขึ้นรูปเท่านั้น (Computer Aided Machining)
มีข้อควรระลึกไว้เสมอว่า CAD/CAM เป็นเพียงแค่เครื่องมือประเภทหนึ่งที่ใช้ช่วยในการออกแบบและสร้างโปรแกรมสำหรับเครื่องจักร CNC เท่านั้น ดังนั้นการที่จะทำให้ CAD/CAM ใช้งานได้ดี จะขึ้นอยู่กับความสามารถของบุคลากรด้วย

CNC
ในกระบวนการผลิตแบบยืดหยุ่น(FA) เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตได้ง่าย เพื่อรับมือกับรูปแบบของสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยผลิตจำนวนน้อยๆเครื่องจักรที่เหมาะสมกับการผลิตแบบนี้ ในปัจจุบันคือ เครื่องจักรประเภท CNC (Computerized Numerical Control) เครื่องจักร CNC เป็นเครื่องจักรที่มีหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ฝังตัวอยู่กับเครื่องจักร เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน(Controller) ของเครื่อง โดยสามารถควบคุมและปรับเปลี่ยนการทำงานได้ง่ายโดยผ่านโปรแกรมควบคุม

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2551

แกะกล่อง Power Supply รุ่นล่าสุดจาก Delux DLP-20A

แกะกล่อง Power Supply รุ่นล่าสุดจาก Delux DLP-20A
สำหรับใครที่กำลังมองหา Power Supply ที่นำมาใช้แทนตัวเก่า หรืออัพเกรดสำหรับคอมพิวเตอร์เครื่องเก่า

โดยไม่ต้องการซื้อเคสใหม่ ก็สามารถทำได้ เพราะล่าสุด Delux ออก Power Supply ตัวล่าสุด เจาะกลุ่มผู้ที่ต้องการอัพเกรด
หรือเปลี่ยนทดแทน Power Supply ที่ติดเคสคอมพิวเตอร์เครื่องเก่า เพื่อใช้งานต่อไปได้โดยไม่ต้องลงทุนแพงๆ













เพราะ Delux DLP-20A เป็น Power Supply 450W ที่ให้กำลังการจ่ายไฟที่สนับสนุนการจ่ายไฟที่คุ้มค่า
กับคอมพิวเตอร์เครื่องเก่า โดยนำไปเปลี่ยนพาวเวอร์ซัพพลายที่ติดเคสได้ ตัวนี้สนับสนุน ATX 12V V1.3 มีหัวต่อ 20+4
มีหัวต่อ Floppy Drive และมีขั้วต่อไป 4 Pin ให้อีก 4 เส้น ที่บอกว่าเหมาะกับคอมพิวเตอร์เครื่องเก่า ก็เพราะว่า มันไม่มีขั้วต่อไป SATA ให้น่ะสิครับ เหมาะกับใครที่ใช้ Harddisk IDE อยู่แต่เดิม แล้วอยากจะหาพาวเวอร์ซัพพลาย มาอัพเกรดแทนตัวเก่า ที่อาจจะ
จ่ายไฟได้แค่ 350W หรือ 420W ก็ถือเป็นทางเลือกอีกรุ่นที่น่าสนใจ
เรื่องการระบายความร้อน แค่เห็นพัดลมขนาด 8 เซ็นติเมตร ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องการระบายอากาศ ยิ่งในตลาดมีพาวเวอร์ซัพพลายหลายรุ่น ตัวนี้มีประกันให้ 1 ปีด้วยนะครับ
ใครสนใจก็ลองถามหาจากร้านต่างๆดูนะครับ

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม (Computer Integrated Manufacturing : CIM)

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม (Computer Integrated Manufacturing : CIM)

วัตถุประสงค์หลัก คือ การเชื่อมต่อระหว่างระบบที่ทำการผลิตแบบอัตโนมัติเข้ากับการจัดการสารสนเทศแบบดั้งเดิม
· การผลิตแบบอัตโนมัติ
· การจัดการสารสนเทศแบบดั้งเดิม
· ระบบ CIM ในโรงงานอุตสาหกรรม


การผลิตแบบอัตโนมัติ
1. การใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและผลิต ( CAD / CAM )
2. การควบคุมเครื่องมือซึ่งทำงานด้วยคำสั่งลักษณะตัวเลข ( NC : Numerical Control Machine )
3. การควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
4. การจัดการวัตถุดิบอัตโนมัติ

การจัดการสารสนเทศแบบดั้งเดิม
1. การจัดการทางบัญชี
2. การจัดซื้อ
3. การควบคุม Stock
4. การจัดการด้านการตลาด

ระบบ CIM ในโรงงานอุตสาหกรรม

ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล CIM
1. ลดเวลาและต้นทุนการผลิตในส่วน ของการออกแบบ และ กระบวนการผลิต
2. ความผิดพลาดน้อยลง
3. ลดขั้นตอนการผลิตสินค้า
4. สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าได้
5. วัสดุสิ้นเปลืองลดลง
6. วางแผนงานได้

ประโยชน์ของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม
· ความคล่องตัวในการผลิตสินค้า
· ความรวดเร็วในการตอบสนองต่อตลาด
· ไม่มีการจัดการเก็บข้อมูลหลายครั้ง

ข้อเสีย
· ราคาแพง
· ต้องการบุคลากรที่มีความสามารถ

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ประโยชน์ของ Weblog ต่อการศึกษา

ประโยชน์ของ Weblog
> Blog เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อก
> เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้
> เป็นเครื่องมือช่วยในด้านธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การเสนอ

ตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
> เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเอง
ถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความ
ชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
> ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับ
เหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
ประโยชน์ของ Weblog ต่อการเรียนการสอน
> เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ ให้กับผู้เรียน โดยหลักการของ blog คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บน blog

เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง blog ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย
สะดวก และรวดเร็ว ทันทีที่ผู้เขียนมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขความรู้ที่มีอยู่บน blog ไฟล์ RSS ก็จะทำการดึงเอาเนื้อหานั้น ๆ มาใส่
ไว้ในไฟล์ด้วยทันที
> เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เรียน การเขียน blog จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เรียน
เขียนถ่ายทอดลงไปใน blog และผู้เรียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉาน
ในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี
> เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ของผู้เรียน ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ การเขียนและอ่าน blog เป็นวิธีการค้นหาความรู้
ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน blog ที่มักอ้างถึง blog อื่น ๆ โดยการ
โยงลิงค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิงค์ที่ผู้เรียนบรรจุไว้ใน blog ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของ
blog ในกลุ่มที่เรียน
> เป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ การให้ผู้เรียน
ระบุหมวดหมู่หรือคีย์เวิร์ดของบันทึกนั้น ๆ ไว้ ซึ่งบันทึกหนึ่ง ๆ อาจมีความเหมาะสมในการแยกหลายหมวดหมู่ ถือเป็นการสกัด
แก่นความรู้จากขุมความรู้ โดยที่ตัวผู้เรียนเอง อาจจะดึงเอาคีย์เวิร์ดของชุมชนที่ถูกรวบรวมผู้ใช้หลายคน
> เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้ ของผู้เรียนโดยมีผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้ ให้เกิดผล
และนำผลมาปรับปรุงความรู้เดิมให้เกิดความรู้ตัวใหม่ หรือทำให้ความรู้นั้น ๆ มีความถูกต้องมีหลักฐานที่วัดได้ทางวิทยาศาสตร์
ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ระบบมีการจัดลำดับความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้หนึ่ง ๆ ได้โดยตรงจากผู้อ่าน blog ซึ่งอาจ
จะเป็น ผู้ที่ได้นำเอาความรู้นั้นๆ ไปใช้เองอีกด้วย หรือการแสดงสถิติต่างๆของ blog เช่น บันทึกที่ได้รับการแสดงข้อคิด เห็น
มากที่สุด หรือ บันทึกที่มีผู้อ่านมากที่สุด ก็สามารถเป็นเครื่องมือพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้ของผู้เรียน
ได้ในระดับหนึ่ง
> ได้ฝึกประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความคล่องตัวในการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น



วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Weblog คืออะไร?

Weblog คืออะไร
บล็อก (อังกฤษ: blog) หรือ เว็บล็อก (weblog) เป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำว่า blog ย่อมาจากคำว่า weblog หรือ web log โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเองบล็อก (Blog) หรือ เว็บบล็อก (Weblog) เป็นเว็บไซต์สำหรับเขียนบันทึกเล่าเรื่องราวประจำวันเพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิด มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร ในเรื่องที่ผู้เขียนท่านหนึ่งๆ (Blogger) สนใจโดยเฉพาะ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ทำให้บล็อกต่างกับเว็บบอร์ด และเนื่องจากความจริงใจและอิสระทางความคิดที่สื่อสารออกไป ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน ลักษณะของบุคคลที่หนึ่ง เป็นการบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของผู้เขียนได้เป็นอย่างดีทีเดียว จึงทำให้บล็อคเป็นสื่อที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในนานาประเทศ คำว่า “บล็อก” เริ่มใช้เป็นครั้งแรกๆผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสารเมื่อปี 2542 เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ตัดสินใจบรรจุคำว่า “บล็อก” ลงในเว็บไซต์ในสังกัดบางแห่งไปก่อน โดยให้คำจำกัดความไว้ว่า “เว็บไซต์ที่บรรจุ เรื่องราวเกี่ยวกับบันทึกส่วนตัวประจำวัน ซึ่งสะท้อนถึงมุมมอง ความคิดเห็นของบุคคล โดยอาจรวมลิ้งค์เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ตามความประสงค์ของเจ้าของเว็บบล็อกเองด้วย”ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่ายวัตถุประสงค์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเขียนบล็อค คือ การเขียนเพื่อนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้อื่น ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องคำนึงว่าบันทึกที่เขียนนี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจริง หรือเป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่จริง นอกจากนี้ การเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในบล็อคของผู้อื่น แม้จะเป็นไปได้โดยอิสระเช่นเดียวกันกับการเขียนบันทึกในบล็อค ก็ควรเป็นการเขียนที่ใช้ภาษาสุภาพและเป็นการให้ความเห็นเกี่ยวกับบันทึกนั้นๆ โดยตรง นอกจากนี้จะต้องไม่เป็นการเขียนเพื่อวัตถุประสงค์ในการแทรกแซงและทำลายความคิดสร้างสรรค์ ความสนุกสนานในการเขียนบล็อคของผู้เขียนท่านนั้นๆ ส่วนการเขียนบล็อคให้มีผู้อ่านติดตามเยอะๆ นั้น ควรเขียนเป็นประจำสม่ำเสมอ และเป็นงานเขียนที่เป็น Original คือ เขียนจากความรู้ประสบการณ์เรื่องราวของผู้เขียนโดยตรง นั่นเอง

รายชื่อสมาชิกกล่ม aramboyandgirl

กลุ่ม aramboyandgirl ประกอบด้วยนักศึกษาจาก 2 กลุ่ม จำนวน 6 คน
มีพี่ๆ จากกลุ่ม 5024226801
1. นายกิติศักดิ์ รักงาม รหัส 50242268001
2. นายเทวัญ แสงนิรันดร์พัฒนา รหัส 50242268006
3. นายวรวุฒิ ภูศักดิ์ รหัส 50242268011
และน้องๆ กลุ่ม 5024228803
1. นายเคียด มีแก้ว รหัส 50242288047
2. พระรุ่งฤทธิ์ กุลโฮง รหัส 50242288051
3. นางสาววิภาวี วงศ์แวว รหัส 50242288067